แชร์

"สำลัก" เรื่องใหญ่ อันตรายถึงชีวิต

อัพเดทล่าสุด: 12 ต.ค. 2023
412 ผู้เข้าชม

สำลัก คืออาการแสดงที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมหล่นเข้าไปในช่องคอหรือหลอดลม ทำให้กีดขวางช่องทางการหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ตามปกติ ในวัยผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุนั้นมักเกิดจากเศษอาหาร หรือการดื่มน้ำเร็วเกินไป บางกรณีอาจเกิดจากมีปัญหากลืนลำบาก

แบ่งง่ายๆได้ 2 แบบ คือ มีอาการ และ ไม่มีอาการ(สำลักเงียบ)

  1. มีอาการ คือ มีอาการไอ (cough) หรือ เสียงพร่า (wet voice)
  2. ไม่มีอาการ/สำลักเงียบ(Silent Aspiration) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการกลืนผิดปกติ

กรณีสิ่งแปลกปลอมชิ้นใหญ่และไม่สามารถไอขับออกมาได้ทันเวลาอาจทำให้เสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้

หรือถ้าเป็นการสำลักเงียบแต่ไม่ได้รับการวินิจฉัยเพื่อทำการรักษาก็จะทำให้เกิดปอดอักเสบหายใจลำบากเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน

การป้องกันการสำลัก

  • จัดท่าทางในการรับประทานอาหาร โดยนั่งตัวตรงบนเก้าอี้ หลีกเลี่ยงท่านอน ในกรณีผู้ป่วยติดเตียงให้ยกศีรษะผู้ป่วยขึ้นอย่างน้อย 60-90 องศา เพื่อป้องกันการสำลักเข้าปอด และควรนั่งพักก่อนอย่างน้อย 15-30 นาทีทุกมื้อ ไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร
  • ก้มหน้าเล็กน้อยขณะกำลังกลืนอาหาร ซึ่งเป็นท่าที่เหมาะสมในการป้องกันการสำลักในผู้สูงอายุที่มีภาวะกลืนลำบาก
  • รับประทานอาหารคำเล็กหรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ ให้ละเอียดที่สุดก่อนกลืน
  • ตั้งใจกลืนอาหาร ไม่คุยกันระหว่างรับประทานอาหารหรือไม่ควรหัวเราะขณะรับประทานอาหาร
  • ไม่รีบเร่งในการรับประทานอาหาร หากจำเป็นต้องป้อนอาหาร ควรป้อนอาหารให้ท่านด้วยความเร็วที่เหมาะสม โดยสังเกตว่าท่านกลืนอาหารในปากแล้วจึงป้อนอาหารช้อนต่อไป และตักอาหารให้พอดีกับที่ท่านสามารถเคี้ยวได้
  • ไม่ควรรับประทานอาหารขณะรู้สึกเหนื่อย เพราะอาจทำให้เกิดการสำลักได้
  • สามารถรับประทานอาหารสลับกัน เช่น อาหารที่บดเคี้ยวสลับกับอาหารเหลว
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียว เคี้ยวยาก เนื่องจากอาจทำให้ติดคอ ถ้าอาหารชิ้นใหญ่ควรทำการหั่นซอยก่อน
  • ปรุงอาหารให้มีลักษณะอ่อนนิ่ม หั่นเนื้อสัตว์ให้เล็กที่สุด หากเป็นผักก็หั่นให้เล็กลงและต้มให้นิ่ม
  • เลือกระดับความหนืดของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการรับประทาน เช่น ในบางรายอาจสามารถกลืนอาหารที่มีความหนืดข้นได้ดีกว่าอาหารเหลว หากผู้ป่วยมีภาวะกลืนลำบากอาจทำการปรับลักษณะของอาหารและน้ำให้เหมาะสม โดยอาจใช้สารเพิ่มความหนืดใส่ลงในอาหารและของเหลวต่างๆ เพื่อช่วยลดโอกาสสำลัก
  • อย่ารับประทานอาหารแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุป เพื่อช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและนุ่มขึ้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบและลดสิ่งรบกวนขณะรับประทานอาหาร เช่น การพูดคุย การดูโทรทัศน์
  • ดูแลทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร เพื่อช่วยลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากการสำลักได้

บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ทริคดูแลผู้ป่วยติดเตียงยังไงให้อารมณ์ดีสุขภาพดีตาม
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเลยถ้าดูแลด้วยความรู้ ความเข้าใจ และรู้จักจัดการสถานการณ์อย่างเหมาะสม ความสุขย่อมเกิดขึ้นในครอบครัวของทุกท่าน
18 ก.ย. 2023
5 ค กระตุ้นการรับรู้ และความทรงจำ
เทคนิคจำง่ายๆ ที่ช่วยให้ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความทรงจำ
18 ก.ย. 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy