5 ทริคดูแลผู้ป่วยติดเตียงยังไงให้อารมณ์ดีสุขภาพดีตาม
อัพเดทล่าสุด: 18 ก.ย. 2023
272 ผู้เข้าชม
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงไม่ใช่งานง่ายสำหรับลูกหลานหรือคนดูแลเลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพของท่านที่ถดถอยลง ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เหมือนเคย ต้องพึ่งพาลูกหลาน
ส่งผลต่อสุขภาพจิตของท่าน เช่น รู้สึกหวาดกลัว หมดคุณค่า เป็นภาระ อาจมีอาการแสดงออกเช่น น้อยใจ ซึมเศร้า บางคนก็อารมณ์เสียฉุนเฉียวง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลดีกับบรรยากาศในครอบครัวเลย
สรุปมาให้อ่านกันสั้นๆ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ตามนี้ค่ะ
- ดูแลท่านด้วยความรัก ความเข้าใจ ให้กำลังใจ สังเกตุและทำความเข้าใจอารมณ์ของท่านว่ากำลังกังวลหรือคิดมาเรื่องอะไรอยู่หรือไม่ เช่น ซึม พูดน้อย อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย บ่นว่ารู้สึกเป็นภาระ ไม่อยากมีชีวิตอยู่ กรณีเกิดอาการดังกล่าว ควรใจเย็น ไม่โต้ตอบด้วยคำพูดหรืออารมณ์รุนแรง ถ้าอาการเป็นมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป ลูกหลานควรเข้ามาเยี่ยมบ่อยๆ สัมผัสด้วยการกุมมือ โอบกอด ให้ท่ามีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัว จะทำให้ท่ารู้สึกมีคุณค่า เป็นคนสำคัญ ส่งเสริมกำลังใจให้ท่าเป็นอย่างดี
- สร้างสภาพแวดล้อมในห้องนอน ในบ้านให้น่าอยู่ รักษาความสะอาด ดูแลเรื่องกลิ่น ห้องควรมีหน้าต่างจัดให้อากาศถ่ายเทสะดวก จัดห้องพักสวยงามน่าอยู่
- ให้ท่านได้ทำกิจกรรมที่ท่านชอบ และไม่เกิดอันตราย เช่น ฟังเพลง ร้องเพลง หรือฟังธรรมะ เป็นต้น
- การจัดหาอาหารทีีท่านชอบเหมาะสมกับโรค และตกแต่งให้น่าทาน อาหารของผู้ป่วยติดเตียงไม่จำเป็นต้องทำซ้ำจำเจ ผู้ดูแลสามารถปรับเมนูและจัดให้สวยงามน่ารับประทาน เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้ท่านไม่เบื่ออาหาร
- ลูกหลานที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียงนานๆ ถ้าเกิดความรูสึกเหนื่อยล้า ควรหาคนสลับมาดูแล หรือหากิจกรรมเพื่อผ่อนคลายบ้าง เพื่อลดภาวะเครียดจากการดูแล
บทความที่เกี่ยวข้อง
อาการสำลักพบบ่อยในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืนลำบาก เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและทันเวลา
12 ต.ค. 2023
เทคนิคจำง่ายๆ ที่ช่วยให้ผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยที่เสี่ยงหรือมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และความทรงจำ
18 ก.ย. 2023